Rosetta พบ Amino Acid Glycine ในบรรยากาศของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko



European Space Agency รายงานว่ายานอวกาศ Rosetta พบ Amino Acid Glycine ซึ่งเป็นหนึ่งในกรดอมิโนที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ในบรรยากาศของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko

ยานอวกาศ Rosetta ซึ่งมี กำหนดสิ้นสุดภาระกิจการสำรวจดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ในกันยายน 2016  ยังคงส่งข้อมูลที่ทำให้ชาวโลกตื่นตาตื่นใจกลับมาเป็นระยะ  ล่าสุด European Space Agency รายงานว่ายานอวกาศ Rosetta พบ Amino Acid Glycine ซึ่งเป็นหนึ่งในกรดอมิโนที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ในบรรยากาศของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko และเป็นครั้งแรกที่มีการพบกรดอมิโน Glycine ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตอยู่รอบดาวหาง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากรดอมิโน Glycine บนดาวหางดวงนี้แพร่กระจายไปในบริเวณที่มันเคลื่อนตัวผ่านในอวกาศ

ก่อนหน้านี้ในปี 2006  NASA เคยพบกรดอมิโน Glycine ในบริเวณเส้นทางโคจรของดาวหาง Wild2  แต่ไม่ได้รับการยืนยันเนื่องจากเกิดการปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจในตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ แต่เมื่อมีการพบกรดอมิโนชนิดเดียวกันบนดาวหาง 67P ทำให้นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่ากรดอมิโน Glycine มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีการก่อตัวของดวงดาวในจักรวาลและอาจถูกพามายังโลกโดยดาวหางหรือเทหวัตถุประเภทอื่น

น่าเสียดายที่ยานสำรวจ Philae ที่ถูกปล่อยจากยานอวกาศ Rosetta มีปัญหาในการลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง 67P และขาดการติดต่อกับยาน Rosetta ทำให้เราพลาดโอกาสได้ข้อมูลอย่างละเอียดของพื้นผิวดาวหาง 67P อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์มีแผนว่าจะใช้เครื่องมือในยาน Rosetta วิเคราะห์ฝุ่นที่ลอยอยู่รอบดาวหางดวงนี้เพื่อหากรดอมิโนชนิดอื่นๆ ก่อนที่ Rosetta จะลงจอดชั่วนิรันดร์ (Eternal Hibernation) บนดาวหาง 67 P ในเดือนกันยายน 2016 เพราะเชื้อเพลิงหมด

ที่มา: Engadget


Post a Comment

0 Comments