Panic Buttons ปุ่มฉุกเฉินบนมือถือสำหรับสตรีชาวอินเดีย



มีอาชญากรรมที่เกิดกับสตรีในแต่ละวันนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสถิติเมื่อปี 2014 พบว่าในประเทศอินเดียมีอาชญากรรมที่เกิดกับสตรีรวม  337,922 ครั้งหรือ สูงกว่าวันละ 900 ราย  รัฐบาลอินเดียพยายามแก้ไขปัญหานี้ จนเป็นที่มาของ Panic Buttons หรือปุ่มฉุกเฉินบนมือถือ ซึ่ง Ravi Shankar รัฐมนตรีสื่อสารของอินเดียบอกว่าจะเริ่มบังคับใช้เดือนมกราคม 2017 นี้


Ravi Shankar เปิดเผยว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2014 โทรศัพท์มือถือในอินเดียทุกเครื่องต้องมี Feature Panic Buttons โดยฟีเจอร์โฟนหรือมือถือรุ่นเก่าสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ด้วยการกดที่ปุ่มเลข 5 หรือเลข 9  ในขณะที่ Smartphone ใช้ฟีเจอร์นี้ด้วยการกดปุ่ม Power ต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญานของความช่วยเหลือไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคนที่เจ้าของมือถือเลือกไว้



จากการศึกษาพบว่า Panic Buttons หรือปุ่มฉุกเฉินได้ผลดีกว่าการใช้ Apps ขอความช่วยเหลือ เนื่องจากใช้งานได้ง่ายและเร็วกว่าซึ่งทั้ง 2 คุณสมบัติเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในเสี้ยววินาทีของความเป็นความตาย เพราะผู้ที่กำลังจะตกเป็นเหยื่อจะมีเวลาเพียง 1 -2 วินาทีเท่านั้นก่อนที่ผู้ลงมือจะเข้าประชิดตัว

นอกจากนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2018 Smartphone ในอินเดียทุกเครื่องต้องมีระบบ in-built GPS system ระบุสถานที่เกิดเหตุเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ที่มา: Techcrunch และ Cnet

Post a Comment

0 Comments