Rotifer (หนอนจักร) ถูกแช่แข็ง 24,000 ปี แต่กลับมามีชีวิตและสามารถสืบพันธ์ุได้

นักชีววิทยาจาก  Soil Cryology Laboratory, รัสเซีย พบ Rotifer (หนอนจักร) สายพันธ์ Adineta ถูกแช่แข็ง 24,000 ปี แต่กลับมามีชีวิตและสามารถสืบพันธ์ุได้ (ตามภาพ)


Stas Malavin นักชีววิทยาจาก Soil Cryology Laboratory @  Institute of Physicochemical & Biological Problems, รัสเซีย และทีมงานซึ่งทำการศึกษา Permafrost (พื้นดินที่อยู่ในพื้นที่หนาวเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง) ใกล้แม่น้ำ Alazeya River ในไซบีเรีย ใช้เครื่องขุดเจาะซี่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถเจาะชั้นดินโดยไม่เกิดการปนเปื้อน จนได้ตัว Permafrost ในระดับความลึก 3.5 เมตร (ประมาณ 11.5 ฟุต)

จากการศึกษาตัวอย่าง Permafrost ในห้องแล็บด้วยเครื่อง Radiocarbon พบว่ามีอายุประมาณ 24,000 ปี หรือก่อนสิ้นสุดยุคน้ำแข็งประมาณ 12,500 ปี Stas Malavin และที่สำคัญคือ ใน Permafrost พบ Rotifer (หนอนจักร) สายพันธ์ Adineta ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก อยู่ 1ตัว  เมื่อเจออุณหภูมิปกติ Rotifer (หนอนจักร) สายพันธ์ Adineta ก็กลับมามีชีวิต  หลังจากนั้นไม่นานก็สืบพันธ์ด้วยวิธี Parthenogenesis (การสืบพันธุ์จากไข่โดยไม่ต้องปฏิสนธิ เป็นการสืบพันธ์ที่พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและพืชชั้นต่ำหลายชนิด)  จนได้ Rotify หลายตัว 

Stas Malavin เปิดเผยว่าจะมีการศึกษาว่า Rotifer สามารถเข้าสู่สภาวะจำศึลได้นานกว่าหมื่นปีได้อย่างไร เพราะอุณหภูมิที่เย็นจัดจะทำให้เซลล์แข็งตัวเป็นน้ำแข็งและเกิดเกล็ดน้ำแข๋ง ซึ่งความคมของเกล็ดน้ำแข็งสามารถทำลาย Cell ของสิ่งมีชีวิต  และถ้าการศึกษาประสพความสำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเทคโนโลยี
การแช่เย็นเพื่อเก็บเซลล์ อวัยวะ และเนื้อเยื่อที่อุณหภูมิเย็นจัดได้เป็นเวลานาน

Rotifer (หนอนจักร) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นดินเปียกชื้น ใกล้แหล่งน้ำในพื้นที่เย็นจัด โดยเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทนทานต่อภูมิอากาศเลวร้าย เช่น แห้งแล้ง, หนาวจัด, อ๊อกซิเจนต่ำ  แม้จะไม่เท่ากับตัว Tardigrade  ก็ตาม

ที่มา:  Gizmodo

Post a Comment

0 Comments